เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [1. เทวทหวรรค] 5. สุนักขัตตสูตร

คำว่า ‘แผล’ นี้ เป็นชื่อของอายตนะภายใน 6
คำว่า ‘โทษคือพิษ’ นี้ เป็นชื่อของอวิชชา
คำว่า ‘ลูกศร’ นี้ เป็นชื่อของตัณหา
คำว่า ‘เครื่องตรวจ’ นี้ เป็นชื่อของสติ
คำว่า ‘มีดผ่าตัด’ นี้ เป็นชื่อของอริยปัญญา1
คำว่า ‘หมอผ่าตัด’ นี้ เป็นชื่อของตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
สุนักขัตตะ เป็นไปไม่ได้ที่ภิกษุนั้นทำความสำรวมในผัสสายตนะ 6 จึงรู้ดังนี้ว่า
‘อุปธิ2เป็นรากเง่าแห่งทุกข์” จึงเป็นผู้ปราศจากอุปธิ หลุดพ้นแล้วในธรรมเป็นที่สิ้น
ไปแห่งอุปธิ3 จักน้อมกายหรือปล่อยจิตไปในอุปธิ4
เปรียบเหมือนภาชนะมีน้ำดื่มเต็มเปี่ยม สมบูรณ์ด้วยสี สมบูรณ์ด้วยกลิ่น
สมบูรณ์ด้วยรส แต่เจือด้วยยาพิษ ต่อมาบุรุษผู้รักชีวิตยังไม่อยากตาย รักสุข
เกลียดทุกข์มาพบเข้า
สุนักขัตตะ เธอเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร คือ บุรุษนั้นจะพึงดื่มน้ำที่เต็ม
เปี่ยมภาชนะนั้น ทั้งที่รู้ว่า ‘ดื่มแล้วจะต้องตายหรือทุกข์ปางตาย’ บ้างไหม”
“ไม่ดื่ม พระพุทธเจ้าข้า”
“สุนักขัตตะ เป็นไปไม่ได้ฉันนั้นเหมือนกัน ที่ภิกษุนั้นทำความสำรวมใน
ผัสสายตนะ 6 รู้ดังนี้ว่า ‘อุปธิเป็นรากเง่าแห่งทุกข์ ฯลฯ’
เปรียบเหมือน ต่อมาบุรุษผู้รักชีวิตยังไม่อยากตาย รักสุขเกลียดทุกข์ มา
พบอสรพิษมีพิษร้ายแรงเข้า


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [1. เทวทหวรรค] 6. อาเนญชสัปปายสูตร

สุนักขัตตะ เธอเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร คือ บุรุษนั้นจะพึงยื่นมือหรือ
หัวแม่มือให้แก่อสรพิษตัวมีพิษร้ายแรงนั้น ทั้งที่รู้ว่า ‘ถูกอสรพิษที่มีพิษร้ายแรงกัด
แล้วจะต้องตายหรือทุกข์ปางตาย’ บ้างไหม”
“ไม่ยื่น พระพุทธเจ้าข้า”
“สุนักขัตตะ เป็นไปไม่ได้ฉันนั้นเหมือนกัน ที่ภิกษุนั้นทำความสำรวมใน
ผัสสายตนะ 6 รู้ดังนี้ว่า ‘อุปธิเป็นรากเง่าแห่งทุกข์’ จึงเป็นผู้ปราศจากอุปธิ
หลุดพ้นแล้วในธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอุปธิ จักน้อมกายหรือปล่อยจิตไปในอุปธิ”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว เจ้าสุนักขัตตะ ลิจฉวีบุตรมีใจยินดีชื่นชม
พระภาษิตของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล

สุนักขัตตสูตรที่ 5 จบ

6. อาเนญชสัปปายสูตร
ว่าด้วยปฏิปทาอันเป็นสัปปายะแก่อาเนญชสมาบัติ

[66] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิคมของชาวกุรุชื่อกัมมาสธัมมะ
แคว้นกุรุ สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคได้รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า
“ภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้
ตรัสเรื่องนี้ว่า
“ภิกษุทั้งหลาย กาม1ไม่เที่ยง เป็นของว่างเปล่า2 เท็จ มีความเลือนหายไป
เป็นธรรมดา ลักษณะของกามนี้ เป็นความล่อลวง เป็นที่บ่นถึงของคนพาล กาม
ที่มีในภพนี้ และกามที่มีในภพหน้า กามสัญญา(ความกำหนดหมายในกาม) ที่มี